ระบบดาวเทียม
ความแตกต่างของดาวเทียมสื่อสารที่ต่างจากดาวเทียมอื่นๆ คือมันสามารถทวนสัญญาณที่มี payload จำนวนของสัญญาณวิทยุที่รับ / ส่ง นั้นซึ่งเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่า ทรานสปอนเดอร์ ( Transponders ) ตัวทรานสปอนเดอร์นี้จะทำการทวนสัญญาณเพื่อให้คลื่นสัญญาณวิทยุที่รับมาจาก on-board ของดาวเทียม มาประมวลผลและส่งสัญญาณไปยังสถานีภาคพื้นได้ โดยทั่วไป ทรานสปอนเดอร์ถูกกำหนดจากความสามารถสูงสุดของแบนด์วิดท์ ( Bandwidth ) ไว้ที่ 36 , 54 หรือ 72 MHz สำหรับบน Ku-band และความถี่อื่นๆ นั้นได้แจกแจงขนาดของแบนด์วิดท์บนตัว ทรานสปอนเดอร์ในตาราง 1 โดยทรานสปอนเดอร์สามารถใช้ประโยชน์จากการถ่ายทอดสัญญาณที่มีประสิทธิภาพในการปล่อยพลังงานออกมาในรูปของคลื่นสัญญาณ ( 40 dBW ถึง 54 dBW หรือ 10,000 W ถึง 250,000 W ) และมันมีความสามารถในการประมวลผล on-board
สมัยก่อนทรานสปอนเดอร์ไม่เป็นอะไรที่ซับซ้อนมากนักและมันประกอบด้วยระบบรองจำนวนน้อย : ที่จานสายอากาศเครื่องรับมี LNA ในด้านรับ จากนั้นเปลี่ยนความถี่และส่งสัญญาณไปให้ HPA ซึ่งเป็นการทำงานพื้นฐานของทรานสปอนเดอร์ที่ต้องการเพียงแค่รับและแปลงคลื่นสัญญาณไฟฟ้าให้ผ่านไปที่สายอากาศด้าน Rx ในการขยายนั้นมันทำในส่วน LNA โดยเปลี่ยนความถี่ ( down convert ) และป้อนคลื่นสัญญาณไปยัง HPA หลังจากนั้นก็ถ่ายทอดสัญญาณผ่านไปที่สายอากาศด้าน Tx ซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานของทรานสปอนเดอร์นั้นคือ ความสามารถในการทวนสัญญาณ ( Repeater หรือ Bent-Pipe ) ของดาวเทียม ซึ่งแสดงให้เห็นในรูปที่ 2.4
แต่ดั้งเดิมการทวนสัญญาณในดาวเทียมมันซับซ้อนในการรับรู้ว่ามีหลายอย่างก่อให้เกิดผลกระทบที่สามารถนำไปใช้ในการรับสัญญาณ ( non-linearity , การล่าของสัญญาณ : delay , การบิดเบือนของสัญญาณ : distortion ) แต่ทุกครั้งมันเกี่ยวกับความถี่และกำลังส่ง แต่สัญญาณก็ไม่พร้อมที่จะยอมรับ ทรานสปอนเดอร์ไม่มีทางรับรู้สิ่งต่างๆ ที่แตกต่างในสัญญาณได้ bent-pipe ในทรานสปอนเดอร์เกือบจะมองผ่านได้ง่ายๆ ถึงการใช้ เมื่อมองย้อนกลับไปแล้ว โดยพื้นฐานไม่แตกต่างในการส่งข้อมูล ( information ) และก็ไม่แตกต่างในการลำดับสัญญาณ ดังนั้นมันจึงเป็นการเริ่มต้นการทวนคลื่นสัญญาณ ดาวเทียมในปัจจุบันมีแอพพลิเคชั่น ( Application ) ที่เพิ่มมากขึ้นแต่คงจะไม่เพียงพอสำหรับเครือข่ายดาวเทียมที่ใช้ดิจิตอลแพ็คเกจ ( digital packet )
ตารางที่ 1 ตัวอย่างพารามิเตอร์ดาวเทียมแบบ Fixed Satellite Service ( FSS )
Frequency band Satellite EIRP Satellite G/T Transponder Bandwidth
C band 36 ถึง 40 dBW -3 ถึง 2 dB/K 36 MHz
Ku band 45 ถึง 50 dBW 0 ถึง 5 dB/K 36 , 54 , 72 , 108 MHz
Ka band ( กรณี OBP ) 55 ถึง 60 dBW 4 ถึง 9 dB/K 36 , 54 , 108 MHz
V band > 50 dBW > 5 dB/K 36 , 54 , 108 MHz
การใช้งานดาวเทียมกับระบบโทรศัพท์ ( Satellite Telephony )
การนำระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมมาใช้งานกับระบบโทรศัพท์นั้นสามารถแบ่งได้เป็นสองส่วนได้แก่
1. นำไปใช้เชื่อมโยงระหว่างชุมสายโทรศัพท์ขนาดใหญ่เพื่อเป็น Trunk ขนาดใหญ่ สำหรับรองรับปริมาณการใช้โทรศัพท์ระหว่างชุมสายหรือเป็นระบบสำรองสำหรับระบบส่งสัญญาณภาคพื้นดินอื่น เช่น ระบบไมโครเวฟ และระบบไฟเบอร์ออฟติก เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีที่สามารถใช้ได้คือระบบ TDMA ( Time Division Multiple Access ) หรือระบบ SCPC ( Single Channel Per Carrier ) เป็นต้นที่สามารถรองรับการใช้งานได้เป็นจำนวนมาก เช่น ระบบที่มีความเร็ว 2 Mbps เป็นต้น
2. ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมได้นำระบบ SCPC DAMA ( Demand Assigned Multiple Access ) มาใช้งานกับระบบโทรศัพท์ ซึ่งเป็นการใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมเฉพาะเวลาที่มีการใช้โทรศัพท์ทำให้ประหยัดการใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมได้มาก เพื่อรองรับผู้ใช้โทรศัพท์เป็นจำนวนมาก ระบบนี้ได้ถูกนำไปใช้สำหรับการสื่อสารกับบริเวณพื้นที่ห่างไกล ( Rural Area ) ซึ่งระบบโทรศัพท์ธรรมดาไม่สามารถให้บริการได้ เช่น ในชนบท ตามหมู่เกาะต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมชนิด SCPC DAMA ยังสามารถนำมาสร้างระบบเครือข่ายโทรศัพท์เพื่อใช้งานภายในองค์กรที่มีสาขาอยู่ในที่ห่างไกล การทำงานของระบบโทรศัพท์สามารถทำได้โดยการเชื่อมโยงระบบตู้สาขา ( PBX ) เข้าด้วยกัน โดยผ่านอุปกรณ์ Voice Codec ทำการแปลงสัญญาณเสียงให้เป็นข้อมูลดิจิตอลเพื่อส่งข้อมูลผ่านระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมไปยังสถานีปลายทางต่อไป
การสื่อสารระบบโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมต้องใช้เวลาในการส่งสัญญาณขึ้นไปยังตัวดาวเทียมเป็นผลให้การใช้งานระบบโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมเกิดปัญหามีเสียงก้อง เนื่องมาจากการหน่วงเวลาของดาวเทียมสื่อสารในปัจจุบัน ดังนั้นในระบบโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมทั่วไปจึงต้องมีอุปกรณ์ป้องกันเสียงก้อง ( Echo Canceller ) เป็นส่วนประกอบสำคัญเสมอ
สำหรับการใช้งานโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมในปัจจุบันนั้นรองรับการใช้งาน VoIP ได้หลายโปรโตคอล เช่น H.323 , SIP และ MGCP โดยขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ปลายทาง ( User Terminal ) ที่ได้รวมโมเด็มสำหรับการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมและ VoIP Processing เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับโทรศัพท์พื้นฐานทั่วไปได้โดยตรงและสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียว ซึ่งสามารถต่อเข้ากับชุดอุปกรณ์ VoIP ที่มีอยู่ทั่วไปได้ เช่น IP Phone , IP PABX
ระบบสื่อสารดาวเทียมเคลื่อนที่ ( Mobile Satellite Systems : MSS )
MSS เป็นระบบสื่อสารดาวเทียมที่ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกลกันให้สามารถสื่อสารได้ ด้วยการใช้งานที่คล่องตัวทั้งยังสามารถเคลื่อนย้ายได้ จึงเป็นสถานีดาวเทียมภาคพื้นที่มีการนำไปประยุกต์การให้บริการติดต่อสื่อสาร เช่น การใช้งานโทรศัพท์บนเครื่องบินหรือบนพื้นดิน , การสื่อสารข้อมูล , การกำหนดตำแหน่งของพิกัด , การสื่อสารกับเรือเดินสมุทร , รถถ่ายสดผ่านดาวเทียม เป็นต้น
ระบบ MSS ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้งานความถี่ในช่วง L band การนำความถี่กลับมาใช้ใหม่ ( Frequency reuse ) ( ขออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการใช้ความถี่ซ้ำ เนื่องจากย่านความถี่ซึ่งใช้ในการสื่อสารดาวเทียมค่อนข้างมีจำกัด ดังนั้นเพื่อให้การสื่อสารดาวเทียมมีการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพจึงถูกออกแบบให้สามารถใช้งานความถี่เดียวเดียวกันและพร้อมกันได้ โดยการส่งสัญญาณที่มีความถี่เดียวกันในทิศทางหรือแกนที่ต่างกันจะทำให้การรบกวนมีน้อยมาก เช่น ดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศจะใช้ Linear Polarization ซึ่งมีการส่งสัญญาณให้วิ่งไปในแนวตั้ง ( Vertical Polarization ) และแนวนอน ( Horizontal Polarization ) พร้อมๆ กัน ส่วนดาวเทียมระหว่างประเทศ เช่น INTELSAT จะใช้วิธีการส่งสัญญาณเป็นลักษณะ ( Circular Polarization ) โดยมีทิศทางการส่งสัญญาณหมุนเป็นเกลียวเวียนซ้ายตามเข็มนาฬิกา ( LHCP ) หรือหมุนขวาทวนเข็มนาฬิกา ( RHCP ) จะทำให้สัญญาณที่ใช้ความถี่เดียวกันไม่เกิดการรบกวนซึ่งกันและกัน) สำหรับ L band ที่มีแบนด์วิดท์แคบจำเป็นต้องใช้จานสายอากาศของดาวเทียมที่มีจำนวนบีมมากๆ ( Multibeam Satellite Antenna ) ระบบ MSS ใช้ความถี่ L band ที่มีแบนด์วิดท์ 14 MHz การติดต่อสื่อสารขาขึ้น ( Uplink ) จะใช้ความถี่ช่วง 1646.5 – 1660.5 MHz และการติดต่อสื่อสารขาลง ( Downlink ) จะใช้ความถี่ช่วง 1545 – 1559 MHz ( 1.6 / 1.5 GHz ) ทำให้สามารถนำความถี่ที่ใช้ไปแล้วกลับมาใช้ใหม่ได้โดยการใช้บีม ( Beam ) หลายๆ บีม แต่ละบีมจะห่างกันมากกว่าช่วงกว้างของบีม ( Beamwidth ) เพื่อที่จะได้ค่า C/I ( Carrier-to-Interference Ratio ) ที่เหมาะสม โดยตารางที่ 2 จะแสดงให้เห็นถึงการแบ่งความถี่ของระบบดาวเทียม
เครือข่าย MSS ทำงานในย่านความถี่ L band ( 1.6 / 1.5 GHz ) และ Ku band ( 14 / 12 GHz ) ระบบ MSS ส่วนมากทำงานในรูปแบบ Star ซึ่งมีสถานีกลาง ( Hub Station ) ซึ่งการติดต่อสื่อสารทุกครั้งจะต้องผ่านสถานีกลาง ดังนั้น องค์ประกอบของเครือข่าย MSS ซึ่งมีเทอร์มินัลเคลื่อนที่ ( Mobile Terminals ) , สถานีกลาง ( Hub Station ) ซึ่งอาจจะเป็น Base Station หรือ Gateway และศูนย์ควบคุมเครือข่าย ( Network Control Center : NCC ) สถานีกลางและศูนย์ควบคุมเครือข่ายจะทำงานในย่านความถี่ Ku band โดยใช้จานสายที่มีอัตราขยายประมาณ 15 – 22 dB และเทอร์มินัลเคลื่อนที่ทำงานในย่านความถี่ L band นอกจากนี้บีมที่กว้างของจานสายอากาศนี้จะทำให้การสื่อสารดาวเทียมในระบบที่มีดาวเทียมหลายๆ ดวงเป็นไปได้ง่ายขึ้น โดยที่ดาวเทียมหลายๆ ดวงนี้จะใช้เทคนิคที่ดาวเทียมแต่ละดวงจะใช้วงโคจรร่วมกันซึ่งมีความจำเป็นมากในระบบที่มีความต้องการใช้ ( traffic ) ที่สูง
สัญญาณที่ได้รับจากสถานีเคลื่อนที่ ( Mobile Terminal ) จะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ Direct Component คือ สัญญาณที่ได้รับโดยตรงจากดาวเทียมถึงสถานีเคลื่อนที่ และ Ground Reflected Component โดยทั่วไปแล้วผลของค่านี้จะสามารถละเลยได้
ความแตกต่างของดาวเทียมสื่อสารที่ต่างจากดาวเทียมอื่นๆ คือมันสามารถทวนสัญญาณที่มี payload จำนวนของสัญญาณวิทยุที่รับ / ส่ง นั้นซึ่งเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่า ทรานสปอนเดอร์ ( Transponders ) ตัวทรานสปอนเดอร์นี้จะทำการทวนสัญญาณเพื่อให้คลื่นสัญญาณวิทยุที่รับมาจาก on-board ของดาวเทียม มาประมวลผลและส่งสัญญาณไปยังสถานีภาคพื้นได้ โดยทั่วไป ทรานสปอนเดอร์ถูกกำหนดจากความสามารถสูงสุดของแบนด์วิดท์ ( Bandwidth ) ไว้ที่ 36 , 54 หรือ 72 MHz สำหรับบน Ku-band และความถี่อื่นๆ นั้นได้แจกแจงขนาดของแบนด์วิดท์บนตัว ทรานสปอนเดอร์ในตาราง 1 โดยทรานสปอนเดอร์สามารถใช้ประโยชน์จากการถ่ายทอดสัญญาณที่มีประสิทธิภาพในการปล่อยพลังงานออกมาในรูปของคลื่นสัญญาณ ( 40 dBW ถึง 54 dBW หรือ 10,000 W ถึง 250,000 W ) และมันมีความสามารถในการประมวลผล on-board
สมัยก่อนทรานสปอนเดอร์ไม่เป็นอะไรที่ซับซ้อนมากนักและมันประกอบด้วยระบบรองจำนวนน้อย : ที่จานสายอากาศเครื่องรับมี LNA ในด้านรับ จากนั้นเปลี่ยนความถี่และส่งสัญญาณไปให้ HPA ซึ่งเป็นการทำงานพื้นฐานของทรานสปอนเดอร์ที่ต้องการเพียงแค่รับและแปลงคลื่นสัญญาณไฟฟ้าให้ผ่านไปที่สายอากาศด้าน Rx ในการขยายนั้นมันทำในส่วน LNA โดยเปลี่ยนความถี่ ( down convert ) และป้อนคลื่นสัญญาณไปยัง HPA หลังจากนั้นก็ถ่ายทอดสัญญาณผ่านไปที่สายอากาศด้าน Tx ซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานของทรานสปอนเดอร์นั้นคือ ความสามารถในการทวนสัญญาณ ( Repeater หรือ Bent-Pipe ) ของดาวเทียม ซึ่งแสดงให้เห็นในรูปที่ 2.4
แต่ดั้งเดิมการทวนสัญญาณในดาวเทียมมันซับซ้อนในการรับรู้ว่ามีหลายอย่างก่อให้เกิดผลกระทบที่สามารถนำไปใช้ในการรับสัญญาณ ( non-linearity , การล่าของสัญญาณ : delay , การบิดเบือนของสัญญาณ : distortion ) แต่ทุกครั้งมันเกี่ยวกับความถี่และกำลังส่ง แต่สัญญาณก็ไม่พร้อมที่จะยอมรับ ทรานสปอนเดอร์ไม่มีทางรับรู้สิ่งต่างๆ ที่แตกต่างในสัญญาณได้ bent-pipe ในทรานสปอนเดอร์เกือบจะมองผ่านได้ง่ายๆ ถึงการใช้ เมื่อมองย้อนกลับไปแล้ว โดยพื้นฐานไม่แตกต่างในการส่งข้อมูล ( information ) และก็ไม่แตกต่างในการลำดับสัญญาณ ดังนั้นมันจึงเป็นการเริ่มต้นการทวนคลื่นสัญญาณ ดาวเทียมในปัจจุบันมีแอพพลิเคชั่น ( Application ) ที่เพิ่มมากขึ้นแต่คงจะไม่เพียงพอสำหรับเครือข่ายดาวเทียมที่ใช้ดิจิตอลแพ็คเกจ ( digital packet )
ตารางที่ 1 ตัวอย่างพารามิเตอร์ดาวเทียมแบบ Fixed Satellite Service ( FSS )
Frequency band Satellite EIRP Satellite G/T Transponder Bandwidth
C band 36 ถึง 40 dBW -3 ถึง 2 dB/K 36 MHz
Ku band 45 ถึง 50 dBW 0 ถึง 5 dB/K 36 , 54 , 72 , 108 MHz
Ka band ( กรณี OBP ) 55 ถึง 60 dBW 4 ถึง 9 dB/K 36 , 54 , 108 MHz
V band > 50 dBW > 5 dB/K 36 , 54 , 108 MHz
การใช้งานดาวเทียมกับระบบโทรศัพท์ ( Satellite Telephony )
การนำระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมมาใช้งานกับระบบโทรศัพท์นั้นสามารถแบ่งได้เป็นสองส่วนได้แก่
1. นำไปใช้เชื่อมโยงระหว่างชุมสายโทรศัพท์ขนาดใหญ่เพื่อเป็น Trunk ขนาดใหญ่ สำหรับรองรับปริมาณการใช้โทรศัพท์ระหว่างชุมสายหรือเป็นระบบสำรองสำหรับระบบส่งสัญญาณภาคพื้นดินอื่น เช่น ระบบไมโครเวฟ และระบบไฟเบอร์ออฟติก เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีที่สามารถใช้ได้คือระบบ TDMA ( Time Division Multiple Access ) หรือระบบ SCPC ( Single Channel Per Carrier ) เป็นต้นที่สามารถรองรับการใช้งานได้เป็นจำนวนมาก เช่น ระบบที่มีความเร็ว 2 Mbps เป็นต้น
2. ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมได้นำระบบ SCPC DAMA ( Demand Assigned Multiple Access ) มาใช้งานกับระบบโทรศัพท์ ซึ่งเป็นการใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมเฉพาะเวลาที่มีการใช้โทรศัพท์ทำให้ประหยัดการใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมได้มาก เพื่อรองรับผู้ใช้โทรศัพท์เป็นจำนวนมาก ระบบนี้ได้ถูกนำไปใช้สำหรับการสื่อสารกับบริเวณพื้นที่ห่างไกล ( Rural Area ) ซึ่งระบบโทรศัพท์ธรรมดาไม่สามารถให้บริการได้ เช่น ในชนบท ตามหมู่เกาะต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมชนิด SCPC DAMA ยังสามารถนำมาสร้างระบบเครือข่ายโทรศัพท์เพื่อใช้งานภายในองค์กรที่มีสาขาอยู่ในที่ห่างไกล การทำงานของระบบโทรศัพท์สามารถทำได้โดยการเชื่อมโยงระบบตู้สาขา ( PBX ) เข้าด้วยกัน โดยผ่านอุปกรณ์ Voice Codec ทำการแปลงสัญญาณเสียงให้เป็นข้อมูลดิจิตอลเพื่อส่งข้อมูลผ่านระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมไปยังสถานีปลายทางต่อไป
การสื่อสารระบบโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมต้องใช้เวลาในการส่งสัญญาณขึ้นไปยังตัวดาวเทียมเป็นผลให้การใช้งานระบบโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมเกิดปัญหามีเสียงก้อง เนื่องมาจากการหน่วงเวลาของดาวเทียมสื่อสารในปัจจุบัน ดังนั้นในระบบโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมทั่วไปจึงต้องมีอุปกรณ์ป้องกันเสียงก้อง ( Echo Canceller ) เป็นส่วนประกอบสำคัญเสมอ
สำหรับการใช้งานโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมในปัจจุบันนั้นรองรับการใช้งาน VoIP ได้หลายโปรโตคอล เช่น H.323 , SIP และ MGCP โดยขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ปลายทาง ( User Terminal ) ที่ได้รวมโมเด็มสำหรับการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมและ VoIP Processing เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับโทรศัพท์พื้นฐานทั่วไปได้โดยตรงและสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียว ซึ่งสามารถต่อเข้ากับชุดอุปกรณ์ VoIP ที่มีอยู่ทั่วไปได้ เช่น IP Phone , IP PABX
ระบบสื่อสารดาวเทียมเคลื่อนที่ ( Mobile Satellite Systems : MSS )
MSS เป็นระบบสื่อสารดาวเทียมที่ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกลกันให้สามารถสื่อสารได้ ด้วยการใช้งานที่คล่องตัวทั้งยังสามารถเคลื่อนย้ายได้ จึงเป็นสถานีดาวเทียมภาคพื้นที่มีการนำไปประยุกต์การให้บริการติดต่อสื่อสาร เช่น การใช้งานโทรศัพท์บนเครื่องบินหรือบนพื้นดิน , การสื่อสารข้อมูล , การกำหนดตำแหน่งของพิกัด , การสื่อสารกับเรือเดินสมุทร , รถถ่ายสดผ่านดาวเทียม เป็นต้น
ระบบ MSS ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้งานความถี่ในช่วง L band การนำความถี่กลับมาใช้ใหม่ ( Frequency reuse ) ( ขออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการใช้ความถี่ซ้ำ เนื่องจากย่านความถี่ซึ่งใช้ในการสื่อสารดาวเทียมค่อนข้างมีจำกัด ดังนั้นเพื่อให้การสื่อสารดาวเทียมมีการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพจึงถูกออกแบบให้สามารถใช้งานความถี่เดียวเดียวกันและพร้อมกันได้ โดยการส่งสัญญาณที่มีความถี่เดียวกันในทิศทางหรือแกนที่ต่างกันจะทำให้การรบกวนมีน้อยมาก เช่น ดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศจะใช้ Linear Polarization ซึ่งมีการส่งสัญญาณให้วิ่งไปในแนวตั้ง ( Vertical Polarization ) และแนวนอน ( Horizontal Polarization ) พร้อมๆ กัน ส่วนดาวเทียมระหว่างประเทศ เช่น INTELSAT จะใช้วิธีการส่งสัญญาณเป็นลักษณะ ( Circular Polarization ) โดยมีทิศทางการส่งสัญญาณหมุนเป็นเกลียวเวียนซ้ายตามเข็มนาฬิกา ( LHCP ) หรือหมุนขวาทวนเข็มนาฬิกา ( RHCP ) จะทำให้สัญญาณที่ใช้ความถี่เดียวกันไม่เกิดการรบกวนซึ่งกันและกัน) สำหรับ L band ที่มีแบนด์วิดท์แคบจำเป็นต้องใช้จานสายอากาศของดาวเทียมที่มีจำนวนบีมมากๆ ( Multibeam Satellite Antenna ) ระบบ MSS ใช้ความถี่ L band ที่มีแบนด์วิดท์ 14 MHz การติดต่อสื่อสารขาขึ้น ( Uplink ) จะใช้ความถี่ช่วง 1646.5 – 1660.5 MHz และการติดต่อสื่อสารขาลง ( Downlink ) จะใช้ความถี่ช่วง 1545 – 1559 MHz ( 1.6 / 1.5 GHz ) ทำให้สามารถนำความถี่ที่ใช้ไปแล้วกลับมาใช้ใหม่ได้โดยการใช้บีม ( Beam ) หลายๆ บีม แต่ละบีมจะห่างกันมากกว่าช่วงกว้างของบีม ( Beamwidth ) เพื่อที่จะได้ค่า C/I ( Carrier-to-Interference Ratio ) ที่เหมาะสม โดยตารางที่ 2 จะแสดงให้เห็นถึงการแบ่งความถี่ของระบบดาวเทียม
เครือข่าย MSS ทำงานในย่านความถี่ L band ( 1.6 / 1.5 GHz ) และ Ku band ( 14 / 12 GHz ) ระบบ MSS ส่วนมากทำงานในรูปแบบ Star ซึ่งมีสถานีกลาง ( Hub Station ) ซึ่งการติดต่อสื่อสารทุกครั้งจะต้องผ่านสถานีกลาง ดังนั้น องค์ประกอบของเครือข่าย MSS ซึ่งมีเทอร์มินัลเคลื่อนที่ ( Mobile Terminals ) , สถานีกลาง ( Hub Station ) ซึ่งอาจจะเป็น Base Station หรือ Gateway และศูนย์ควบคุมเครือข่าย ( Network Control Center : NCC ) สถานีกลางและศูนย์ควบคุมเครือข่ายจะทำงานในย่านความถี่ Ku band โดยใช้จานสายที่มีอัตราขยายประมาณ 15 – 22 dB และเทอร์มินัลเคลื่อนที่ทำงานในย่านความถี่ L band นอกจากนี้บีมที่กว้างของจานสายอากาศนี้จะทำให้การสื่อสารดาวเทียมในระบบที่มีดาวเทียมหลายๆ ดวงเป็นไปได้ง่ายขึ้น โดยที่ดาวเทียมหลายๆ ดวงนี้จะใช้เทคนิคที่ดาวเทียมแต่ละดวงจะใช้วงโคจรร่วมกันซึ่งมีความจำเป็นมากในระบบที่มีความต้องการใช้ ( traffic ) ที่สูง
สัญญาณที่ได้รับจากสถานีเคลื่อนที่ ( Mobile Terminal ) จะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ Direct Component คือ สัญญาณที่ได้รับโดยตรงจากดาวเทียมถึงสถานีเคลื่อนที่ และ Ground Reflected Component โดยทั่วไปแล้วผลของค่านี้จะสามารถละเลยได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น