วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คำนำ
 
          รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การสื่อสารข้อมูลในระบบสำนักงานอัตโนมัตที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบหลักในการสื่อสารข้อมูลประเภทของระบบเครือข่าย    และการส่งสัญาณ

 
ผู้จัดทำหวังอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้จะให้ประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจศึกษาเป็นอย่างมาก ถ้ามีผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี่ด้วย
 
 
                                                                   จัดทำโดย
 
นาวสาว นิตยา อัปติกานัง 4/2

หน้าปก

รายงาน
 
เรื่อง คอมพิวเตอร์และการติดต่อสื่อสาร
 
เสนอ
 
คุณครู พรพรรณ ทองคำ
 
จัดทำโดย
 
นางสาว นิตยา อัปติกานัง
 
เลขที่ 18 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2
 
โรงเรียนเสลภูมิ
 
อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์

  เครือข่ายคอมพิวเตอร์
                 การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้
สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม
การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบควมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสือสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายเพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ

ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มอุปกรณ์รอบข้างเชื่อมโยงเป็นระบบ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความสามารถในการปฎิบัติการร่วมกัน ซึ่งหมายถึงการให้อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ต่ออยู่บนเครือข่ายทำงานร่วมกันได้ทั้งหมดในลักษณะที่ประสานรวมกัน โดยผู้ใช้เห็นเสมือนใช้งานในอุปกรณ์เดียวกัน จึงเป็นวิธีการในการนำเอาอุปกรณ์ต่างชนิดจำนวนมาก มารวมกันเป็นเสมือนระบบเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่อุปกรณ์เหล่านั้นอาจจะมาจากต่างยี่ห้อ ต่างบริษัท ก็ได้

อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือยข่าย

 
อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่าย
1. ฮับ (Hub)

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายช่องทางการสื่ออสารข้อมูลได้หลายช่องทางในระบบเครือข่าย โดยการขยายสัญญาณที่ส่งผ่านมา ทำให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านสายเคเบิลได้ไกลขึ้น ปัจจุบันฮับมีความเร็วในการสื่อสารแบบ 10/100/1000 Mbps ลักษณะการทำงานของฮับจะแบ่งความเร็วตามจำนวนช่องสัญญาณ (Port) ที่ใช้งานตามมาตรฐานความเร็ว
ความเร็วเป็นแบบ 10 Mbps มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อในระบบ 5 เครื่อง แต่ละเครื่องสามารถสื่อสารกันภายในระบบโดยใช้ความเร็วเท่ากับ 10/5 คือ 2 Mbp

2. สวิตช์ (Switch)
สวิตช์หรืออีเทอร์เน็ตสวิตช์ (Ethernet Switch) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางในระบบเครือข่าย คล้ายกับฮับ ต่างกันตรงที่ลักษณะการทำงานและความสามารถในเรื่องของความเร็วการทำงานของสวิตช์ ไม่ได้แบ่งความเร็วตามจำนวนช่องสัญญาณ (Port) ตามมาตรฐานความเร็วเหมือนฮับ โดยแต่ละช่องสัญญาณ (Port) จะใช้ความเร็วเป็นอิสระต่อกันตามมาตรฐานความเร็ว เช่น ระบบเครือข่ายใช้มาตรฐานความเร็วเป็นแบบ 100 Mbps และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อในระบบ 5 เครื่อง แต่ละเครื่องสามารถสื่อสารกันภายในระบบโดยใช้ความเร็วเท่ากับ 100 Mbps


3. เราท์เตอร์ (Router)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายต่างชนิดกันหรือใช้โปรโตคอลต่างกัน เข้าด้วยกัน คล้าย ๆ กับ Bridgeแต่ลักษณะการทำงานของ Router นั้นจะซับซ้อนกว่าเพราะนอกจากจะเชื่อมต่อแล้วยังเก็บสภาวะของเครือข่ายแต่ละส่วน (Segment)ด้วย และสามารถทำการกรอง (Filter)หรือเลือกเฉพาะชนิดของข้อมูลที่ระบุไว้ว่าให้ผ่านไปได้ทำให้ช่วยลดปัญหาการจราจรที่คับคั่งของข้อมูลและเพิ่มระดับความปลอดภัยของเครือข่ายซึ่งสภาวะของระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันนี้ Routerจะจัดเก็บในรูปของตารางที่เรียกว่า Routing Table ซึ่งตาราง Routing Tableนี้จะมีประโยชน์ในด้านของความเร็วในการหาเส้นทางการสื่อสารข้อมูลระหว่างระบบเครือข่ายโดยเฉพาะกับระบบเครือข่ายที่ซับซ้อนมาก ๆ เช่น ระบบ MAN, WANหรือ Internet เป็นต้น


4. เกตเวย์ (Gateway)

  • Gateway
    เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น

    • Gateway
    ประตูสื่อสาร ช่องทางสำหรับเชื่อมต่อข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่ต่างชนิดกันให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
    โดยทำให้ผู้ใช้บริการของคอมพิวเตอร์หนึ่งหรือในข่ายงานหนึ่งสามารถติดต่อเข้าสู่เครื่องบริการหรือข่ายงานที่ต่างประเภทกันได้ ทั้งนี้โดยการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า "บริดจ์" (bridges) โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำให้การแปลข้อมูลที่จำเป็นให้ นอกจากในด้านของข่ายงาน เกตเวย์ยังเป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) สองข่ายงานที่มีลักษณะ ไม่เหมือนกันให้สามารถเชื่อมต่อกันได้ หรือจะเป็นการเชื่อมต่อข่ายงานบริเวณเฉพาะที่เข้ากับข่ายงานบริเวณกว้าง (WAN) หรือต่อเข้ากับมินิคอมพิวเตอร์หรือต่อเข้ากับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากเกตเวย์มีไมโครโพรเซสเซอร์และหน่วยความจำของตนเอง
  • Gateway
  • จะเป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถมากที่สุดคือสามารถเครือข่ายต่างชนิดกันเข้าด้วยกันโดยสามารถเชื่อมต่อ LAN ที่มีหลายๆโปรโตคอลเข้าด้วยกันได้
    และยังสามารถใช้สายส่งที่ต่างชนิดกัน ตัวgateway จะสามารถสร้างตาราง ซึ่งสารารถบอกได้ว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไหนอยู่ภายใต้ gatewayตัวใดและจะสามารถปรับปรุงข้อมูลตามเวลาที่ตั้งเอาไว้
  • Gateway
  • เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ gateway และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ gateway ในระบบเครือข่ายของหน่วยธุรกิจ เครื่องแม่ข่ายที่เป็น node แบบ gateway มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ proxy และเครื่องแม่ข่ายแบบ firewall นอกจากนี้ gateway ยังรวมถึง router และ switch
  • Gateway
  • เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูล หน้าที่หลักของเกตเวย์คือช่วยทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์2 เครือข่ายหรือมากกว่าที่มีลักษณะไม่เหมือนกัน คือลักษณะของการเชื่อมต่อ( Connectivity ) ของเครือข่ายที่แตกต่างกัน และมีโปรโตคอลสำหรับการส่ง - รับ ข้อมูลต่างกัน เช่น LAN เครือหนึ่งเป็นแบบ Ethernet และใช้โปรโตคอลแบบอะซิงโครนัสส่วน LAN อีกเครือข่ายหนึ่งเป็นแบบ Token Ring และใช้โปรโตคอลแบบซิงโครนัสเพื่อให้สามารถติดต่อกันได้เสมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน เพื่อจำกัดวงให้แคบลงมา เกตเวย์โดยทั่วไปจะใช้เป็นเครื่องมือส่ง - รับข้อมูลกันระหว่างLAN 2เครือข่ายหรือLANกับเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม หรือระหว่าง LANกับ WANโดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะเช่น X.25แพ็คเกจสวิตซ์ เครือข่าย ISDN เทเล็กซ์ หรือเครือข่ายทางไกลอื่น ๆ


5. โมเด็ม (Modem)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณจากดิจิตอล (Digital)ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (Analog) และจากสัญญาณอนาล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอลโมเด็มเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ
ในการสื่อสารบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพราะโมเด็มทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
คอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณที่อุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ ในระบบเครือข่ายสามารถเข้าใจได้หลังจากนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับข้อมูลต้องมีโมเด็มเพื่อแปลงสัญญาณจากอุปกรณ์สื่อสารให้เป็นสัญญาณ
ที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ซึ่งความสามารถของโมเด็มสามารถวัดได้จากความเร็วในการรับส่งข้อมูลจำนวน 1บิตต่อ 1 วินาที (บิตต่อวินาที) หรือ bps (bit per second) ปัจจุบัน Modemมีสองประเภท คือ โมเด็มที่ติดตั้งไว้ในเครื่อง (Internal Modem)และโมเด็มที่ไม่ได้ติดตั้งไว้ในเครื่อง (External Modem)ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม


aaa

6. การ์ดแลน (LAN Card)

การ์ดและหรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “การ์ดอีเธอร์เน็ต” มีไว้ใช้รับ/ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีสายเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งจะเรียกสายนี้ว่า “สายแลน” การเชื่อมต่อเครือข่ายจะช่วยให้เราสามารถแลกเปลี่ยนข ้อมูลกันระหว่างเครื่องได้สะดวกขึ้นอีกทั้งทำให้เราส ามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ง่ายๆ เพียงให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหลักเชื่อมต่ออินเ ทอร์เน็ต แล้วเครื่องอื่นๆ ก็ใช้การแชร์อินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายแลน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอีกด้วย สำหรับความเร็วของการ์ดและในปัจจุบันจะอยู่ที่ 100 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) และเริ่มเข้าสู่แลนในระดับความเร็วถึง 1,000 เมกะบิตต่อวินาที หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “กิกะบิตแลน (Gigabit LAN)”
7. สื่อนำสัญญาณ (Tranmission Media)
สื่อนำสัญญาณที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทดังนี้

1. สายสัญญาณ
    - สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable)
    - สายคู่เกลียวบิด (Twisted Pairs)
  - สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optics)
2. สื่อไร้สาย (Wireless)

    - สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable)


เป็นสายสัญญาณที่ใช้เป็นสื่อกลางการเดินทางของข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์(computer network) เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้และเป็นที่นิยมมากในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยแรกๆ แต่ในปัจจุบันเครือข่ายส่วนใหญ่จะใช้สายสัญญาณอีกประเภทหนึ่ง คือ สายคู่เกลียวบิดและสายใยแก้วนำแสง ส่วนสายโคแอ็กซ์เชียลถือว่าเป็นสายที่ล้าสมัยสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามยังมีระบบเครือข่ายบางประเภทที่ใช้สายแบบนี้อยู่
       สายโคแอ็กซ์เชียลมักถูกเรียกสั้นๆว่า สายโคแอ็กซ์(coax) มีตัวนำไฟฟ้าอยู่สองส่วน คำว่า โคแอ็กซ์ คือ มีแกนร่วมกัน นั่นหมายความว่า ตัวนำไฟฟ้าทั้งสองตัวมีแกนร่วมกันนั่นเอง โครงสร้างของสายโคแอ็กซ์ประกอบไปด้วย สายทองแดงป็นแกนกลาง ห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เป็นฉนวน ชั้นต่อมาจะเป็นตัวนำไฟฟ้าอีกชั้นหนึ่ง เป็นแผ่นโลหะบางหรืออาจเป็นใยโลหะที่ถักเป็นเปียหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ชั้นสุดท้ายเป็นฉนวนหุ้มและวัสดุป้องกันสายสัญญาณ
       ส่วนที่เป็นแกนของสายทำหน้าที่นำสัญญาณข้อมูล ชั้นใยข่ายจะเป็นชั้นที่ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอกและเป็นสายดินไปในตัว ดังนั้น ทั้งสองส่วนนี้จึงไม่ควรเชื่อมต่อกัน เนื่องจากจะทำให้ไฟช็อตได้

    - สายคู๋บิดเกลียว (Twisted Pairs)


สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pairs) เมื่อก่อนเป็นสายสัญญาณที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นมาตรฐานสายสัญญาณที่เชื่อมต่อในเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) สายคู่บิดเกลียวหนึ่งคู่ประกอบด้วยสายทองแดงขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.016-0.035 นิ้ว หุ้มด้วยฉนวนแล้วบิดเป็นเกลียวเป็นคู่ การบิดเป็นเกลียวของสายแต่ละคู่มีจุดประสงค์เพื่อช่วยลดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่รบกวนซึ่งกันและกัน
สายคู่เกลียวบิดที่มีขายในท้องตลาดมีหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งสายสัญญาณอาจประกอบด้วยสายคู่บิดเกลียวตั้งแต่หนึ่งคู่ไปจนถึง 600 คู่ในสายขนาดใหญ สายคู่บิดเกลียวที่ใช้กับเครือข่าย LAN จะประกอบด้วย 4 คู่ สายคู่บิดเกลียวที่ใช้ในเครือข่ายแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

- STP (Shielded Twisted Pairs) หรือสายคู่บิดเกลียวหุ้มฉนวน
- UTP (Unshielded Twisted Pairs) หรือสายคู่บิดเกลียวไม่หุ้มฉนวน

Shielded Twisted Pairs (STP)
สายคู่บิดเกลียวแบบมีส่วนป้องกันสัญญาณรบกวน หรือ STP (Shielded Twisted Pairs) มีส่วนที่เพิ่มขึ้นมาคือ ส่วนที่ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก ซึ่งชั้นป้องกันนี้อาจเป็นแผ่นโลหะบาง ๆ หรือใยโลหะที่ถักเปียเป็นตาข่าย ซึ่งชี้นป้องกันนี้จะห่อหุ้มสายคู่บิดเกลียวทั้งหมด ซึ่งจุดประสงค์ของการเพิ่มขั้นห่อหุ้มนี้เพื่อป้องกันการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น คลื่นวิทยุจากแหล่งต่างๆ

Unshielded Twisted Pairs (UTP)
สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีส่วนป้องกันสัญญารรบกวนหรือ UTP (Unshielded Twisted Pairs) เป็นสายสัญญาณที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่าสาย UTP เป็นสายสัญญาณที่นิยมใช้กันมากที่สุดในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน ซึ่งการใช้สายนี้ความยาวต้องไมเกิน 100 เมตร

    - สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optics)

เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมาก เส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา เส้นใยแก้วนำแสงที่ดีต้องสามารถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ โดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยมาก
เส้นใยแก้วนำแสงสามารถแบ่งตามความสามารถในการนำแสงออกได้เป็น 2 ชนิด คือ เส้นใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Singlemode Optical Fibers, SM) และชนิดหลายโหมด (Multimode Optical Fibers, MM)

อุปกรณ์การสื่อสารข้ออมูล








อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล (Data Communictaion Equipment)
ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น
  • อุปกรณ์รวมสัญญาณ
    • มัลติเพล็กซ์เซอร์ (Muliplexer)
นิยมเรียกกันว่า มัก (MUX) จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการลดค่าใช้จ่ายในการส่งข้อมูลผ่านสายสื่อสาร โดยจะทำการ รวมข้อมูล (multiplex) จากเครื่องเทอร์มินัลจำนวนหนึ่งเข้าด้วยกัน และส่งผ่านสายสื่อสาร เช่น สายโทรศัพท์ และที่ปลายทาง MUX มักอีกตัวก็จะทำหน้าที่ แยกข้อมูล (demultiplex) ส่งไปยังจุดหมายที่ต้องการ
  • คอนเซนเตรเตอร์ (Concentrator)
นิยมเรียกกันว่า คอนเซน จะเป็นมัลติเพลกเซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยจะสามารถทำการเก็บข้อมูลเพื่อส่งต่อ (store and forward) โดยใช้หน่วยความจำ buffer ทำให้สามารถเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงกับความเร็วต่ำได้ รวมทั้งอาจมีการบีบอัดข้อมูล (compress) เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลได้มากขึ้น
  • ฮับ (Hub)
สามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า LAN Concentrator เนื่องจากฮับจะทำหน้าที่เช่นเดียวกับคอนเซน แต่จะมีราคาถูกกว่า นิยมใช้ในเครือข่าย LAN รุ่นใหม่ ๆ โดยใช้อับในการเชื่อมสายสัญญาณจากหลาย ๆ จุดเข้าเป็นจุดเดียวในโทโปโลยีของ LAN แบบ Star เช่น 10BaseT เป็นต้น
ฮับสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
  • Passive Hub เป็นฮับที่ไม่มีการขยายสัญญาณใด ๆ ที่ส่งผ่านมา มีข้อดีคือราคาถูกและไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้า
  • Active Hub ทำหน้าที่เป็นเครื่องทวนซ้ำสัญญาณในตัว นั่นคือจะขยายสัญญาณที่ส่งผ่านมาสามารถทำให้เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านสายเคเบิลได้ไกลขึ้น และเนื่องจากต้องทำการขยายสัญญาณทำให้ ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าด้วย จึงเป็นข้อเสียที่ต้องมีปลั๊กไฟในการใช้งานเสมอ
  • ฟรอนต์เอนต์โปรเซสเซอร์ (Front-End Processor)
มีหน้าที่การทำงานเช่นเดียวกับคอนเซนเตรเตอร์ แต่โดยปกติจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานนี้โดยเฉพาะเครื่องหนึ่ง ซึ่งจะมีปลายด้านหนึ่งที่ทำการเชื่อมโยงด้วยความเร็วสูงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก เช่น เมนเฟรม และปลายอีกด้านจะเชื่อมเข้ากับสายสื่อสารและอุปกรณ์อื่น ๆ ฟรอนต์เอนต์โปรเซสเซอร์จะพบมากในระบบขนาดใหญ่ เพื่อช่วยลดภาระในการติดต่อกับอุปกรณ์รอบข้างให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก (Host)
  • อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย
    • เครื่องทวนซ้ำสัญญาณ (Repeater)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Physical Layer ใน OSI Model มีหน้าที่เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อสำหรับขยายสัญญาณให้กับเครือข่าย และไม่รู้จักลักษณะของข้อมูลที่แฝงมากับสัญญาณเลย
  • บริดจ์ (Bridge)
ใช้ในการเชื่อมต่อ วงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อย ๆ โดยที่ประสิทธภาพรวมของระบบไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่ออของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกัน จะไม่ถูกส่งผ่านบริดจ์ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ระดับ Data Link Layer ใน OSI Modelทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Ethernet กับ Token Rink เป็นต้น ซึ่งอาจเชื่อมต่อระหว่าง LAN ที่อยู่บริเวณเดียวกันหรือเชื่อม LAN ที่อยู่ ห่างกันผ่านทางสื่อสาธารณะ เช่น สายโทรศัพท์ด้วย บริดจ์ระยะไกล (Remote Bridge) โดยบริดจ์อาจเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์เฉพาะ หรือซอฟต์แวร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำหนดให้เป็นบริดจ์ก็ได้
  • สวิตซ์ (Switch)
หรือที่นิยมเรียกว่า อีเธอร์เนตสวิตซ์ (Ethernet Switch) จะเป็น บริดจ์แบบหลายช่องทาง (multiport bridge) ที่นิยมใช้ในระบบเครือข่ายแลนแบบ Ethernetเพื่อใช้เชื่อมต่อเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่าย (segment) เข้าด้วยกัน สวิตซ์จะช่วยละการจราจรระหว่างเครือข่ายที่ไม่จำเป็น (ตามคุณสมบัติของบริดจ์) และเนื่องจากการเชื่อมต่อแต่ละช่องทางการะทำอยู่ภายในตัวสวิตซ์เอง ทำให้สามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลในแต่ละเครือข่าย (Switching) ได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้บริดจ์จำนวนหลาย ๆ ตัวเชื่อมต่อกัน
นอกจากนี้ สวิตซ์ยังสามารถใช้เชื่อมเครื่องคอมพวิเตอร์เพียงเครื่องเดียวเข้ากับสวิตซ์ ซึ่งจะทำให้เครื่อง ๆ นั้น สามารถติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ด้วยความเร็วเต็มความสามารถของช่องทางการสื่อสาร เช่น 10 Mbps ในกรณีเป็น 10BaseT เป็นต้น เนื่องจากไม่ต้องทำการแบ่งช่องทางการสื่อสารข้อมูลกับเครื่องอื่น ๆ เลย
  • เราท์เตอร์ (Router)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับที่อยู่สูงกว่าบริดจ์ นั่นคือในระดับ Network Layer ใน OSI Model ทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลเครือข่ายต่างกันและสามารถทำการ กรอง (filter) เลือกเฉพาะชนิดของข้อมูลที่ระบุไว้ว่าให้ผ่านไปได้ ทำให้ช่วยลดปัญหาการจราจรที่คับคั่งของข้อมูล และเพิ่มระดับความปลอดภัยของเครือข่าย นอกจากนี้เราท์เตอร์ยังสามารถหาเส้นทางการส่งข้อมูลที่เหมาะสมให้โดยอัตโนมัติด้วย (ในกรณที่สามารถส่งได้หลายเส้นทาง ) เราท์เตอร์จะเป็นอุปกรณืที่ขึ้นอยู่กับโปรโตคอล นั่นคือในการใช้งานจะต้องเลือกซื้อเราท์เตอร์ที่สนับสนุนโปรโตคอลของเครือข่ายที่ต้องการจะเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน
  • เกทเวย์ (Gateway)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Transport Layer จนถึง Application Layer ของ OSI Model มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อและแปลงข้อมูลระหว่างเครือข่ายที่แตกต่างกันทั้งในส่วนของโปรโตคอลและสถาปัตยกรรมของเครือข่าย LAN และระบบ Mainframeหรือเชื่อมระหว่างเครือข่าย SNAของ IBM กับ DECNet ของ DEC เป็นต้น โดยปกติ Gateway มักจะเป็น Software Packageที่ใช้ในงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง (ซึ่งทำให้เครื่องนั้นมีสถานะเป็น Gateway)และมักใช้สำหรับเชื่อม Workstation เข้าสู่เครื่องที่เป็นเครื่องหลัก ทำให้เครื่องที่เป็น Workstationสามารถทำงานติดต่อกับเครื่องหลักได้โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับข้อแตกต่างของระบบเลย

อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล

อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล (Data Communictaion Equipment)
ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น
  • อุปกรณ์รวมสัญญาณ
    • มัลติเพล็กซ์เซอร์ (Muliplexer)
นิยมเรียกกันว่า มัก (MUX) จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการลดค่าใช้จ่ายในการส่งข้อมูลผ่านสายสื่อสาร โดยจะทำการ รวมข้อมูล (multiplex) จากเครื่องเทอร์มินัลจำนวนหนึ่งเข้าด้วยกัน และส่งผ่านสายสื่อสาร เช่น สายโทรศัพท์ และที่ปลายทาง MUX มักอีกตัวก็จะทำหน้าที่ แยกข้อมูล (demultiplex) ส่งไปยังจุดหมายที่ต้องการ
  • คอนเซนเตรเตอร์ (Concentrator)
นิยมเรียกกันว่า คอนเซน จะเป็นมัลติเพลกเซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยจะสามารถทำการเก็บข้อมูลเพื่อส่งต่อ (store and forward) โดยใช้หน่วยความจำ buffer ทำให้สามารถเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงกับความเร็วต่ำได้ รวมทั้งอาจมีการบีบอัดข้อมูล (compress) เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลได้มากขึ้น
  • ฮับ (Hub)
สามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า LAN Concentrator เนื่องจากฮับจะทำหน้าที่เช่นเดียวกับคอนเซน แต่จะมีราคาถูกกว่า นิยมใช้ในเครือข่าย LAN รุ่นใหม่ ๆ โดยใช้อับในการเชื่อมสายสัญญาณจากหลาย ๆ จุดเข้าเป็นจุดเดียวในโทโปโลยีของ LAN แบบ Star เช่น 10BaseT เป็นต้น
ฮับสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
  • Passive Hub เป็นฮับที่ไม่มีการขยายสัญญาณใด ๆ ที่ส่งผ่านมา มีข้อดีคือราคาถูกและไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้า
  • Active Hub ทำหน้าที่เป็นเครื่องทวนซ้ำสัญญาณในตัว นั่นคือจะขยายสัญญาณที่ส่งผ่านมาสามารถทำให้เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านสายเคเบิลได้ไกลขึ้น และเนื่องจากต้องทำการขยายสัญญาณทำให้ ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าด้วย จึงเป็นข้อเสียที่ต้องมีปลั๊กไฟในการใช้งานเสมอ
  • ฟรอนต์เอนต์โปรเซสเซอร์ (Front-End Processor)
มีหน้าที่การทำงานเช่นเดียวกับคอนเซนเตรเตอร์ แต่โดยปกติจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานนี้โดยเฉพาะเครื่องหนึ่ง ซึ่งจะมีปลายด้านหนึ่งที่ทำการเชื่อมโยงด้วยความเร็วสูงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก เช่น เมนเฟรม และปลายอีกด้านจะเชื่อมเข้ากับสายสื่อสารและอุปกรณ์อื่น ๆ ฟรอนต์เอนต์โปรเซสเซอร์จะพบมากในระบบขนาดใหญ่ เพื่อช่วยลดภาระในการติดต่อกับอุปกรณ์รอบข้างให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก (Host)
  • อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย
    • เครื่องทวนซ้ำสัญญาณ (Repeater)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Physical Layer ใน OSI Model มีหน้าที่เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อสำหรับขยายสัญญาณให้กับเครือข่าย และไม่รู้จักลักษณะของข้อมูลที่แฝงมากับสัญญาณเลย
  • บริดจ์ (Bridge)
ใช้ในการเชื่อมต่อ วงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อย ๆ โดยที่ประสิทธภาพรวมของระบบไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่ออของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกัน จะไม่ถูกส่งผ่านบริดจ์ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ระดับ Data Link Layer ใน OSI Modelทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Ethernet กับ Token Rink เป็นต้น ซึ่งอาจเชื่อมต่อระหว่าง LAN ที่อยู่บริเวณเดียวกันหรือเชื่อม LAN ที่อยู่ ห่างกันผ่านทางสื่อสาธารณะ เช่น สายโทรศัพท์ด้วย บริดจ์ระยะไกล (Remote Bridge) โดยบริดจ์อาจเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์เฉพาะ หรือซอฟต์แวร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำหนดให้เป็นบริดจ์ก็ได้
  • สวิตซ์ (Switch)
หรือที่นิยมเรียกว่า อีเธอร์เนตสวิตซ์ (Ethernet Switch) จะเป็น บริดจ์แบบหลายช่องทาง (multiport bridge) ที่นิยมใช้ในระบบเครือข่ายแลนแบบ Ethernetเพื่อใช้เชื่อมต่อเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่าย (segment) เข้าด้วยกัน สวิตซ์จะช่วยละการจราจรระหว่างเครือข่ายที่ไม่จำเป็น (ตามคุณสมบัติของบริดจ์) และเนื่องจากการเชื่อมต่อแต่ละช่องทางการะทำอยู่ภายในตัวสวิตซ์เอง ทำให้สามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลในแต่ละเครือข่าย (Switching) ได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้บริดจ์จำนวนหลาย ๆ ตัวเชื่อมต่อกัน
นอกจากนี้ สวิตซ์ยังสามารถใช้เชื่อมเครื่องคอมพวิเตอร์เพียงเครื่องเดียวเข้ากับสวิตซ์ ซึ่งจะทำให้เครื่อง ๆ นั้น สามารถติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ด้วยความเร็วเต็มความสามารถของช่องทางการสื่อสาร เช่น 10 Mbps ในกรณีเป็น 10BaseT เป็นต้น เนื่องจากไม่ต้องทำการแบ่งช่องทางการสื่อสารข้อมูลกับเครื่องอื่น ๆ เลย
  • เราท์เตอร์ (Router)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับที่อยู่สูงกว่าบริดจ์ นั่นคือในระดับ Network Layer ใน OSI Model ทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลเครือข่ายต่างกันและสามารถทำการ กรอง (filter) เลือกเฉพาะชนิดของข้อมูลที่ระบุไว้ว่าให้ผ่านไปได้ ทำให้ช่วยลดปัญหาการจราจรที่คับคั่งของข้อมูล และเพิ่มระดับความปลอดภัยของเครือข่าย นอกจากนี้เราท์เตอร์ยังสามารถหาเส้นทางการส่งข้อมูลที่เหมาะสมให้โดยอัตโนมัติด้วย (ในกรณที่สามารถส่งได้หลายเส้นทาง ) เราท์เตอร์จะเป็นอุปกรณืที่ขึ้นอยู่กับโปรโตคอล นั่นคือในการใช้งานจะต้องเลือกซื้อเราท์เตอร์ที่สนับสนุนโปรโตคอลของเครือข่ายที่ต้องการจะเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน
  • เกทเวย์ (Gateway)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Transport Layer จนถึง Application Layer ของ OSI Model มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อและแปลงข้อมูลระหว่างเครือข่ายที่แตกต่างกันทั้งในส่วนของโปรโตคอลและสถาปัตยกรรมของเครือข่าย LAN และระบบ Mainframeหรือเชื่อมระหว่างเครือข่าย SNAของ IBM กับ DECNet ของ DEC เป็นต้น โดยปกติ Gateway มักจะเป็น Software Packageที่ใช้ในงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง (ซึ่งทำให้เครื่องนั้นมีสถานะเป็น Gateway)และมักใช้สำหรับเชื่อม Workstation เข้าสู่เครื่องที่เป็นเครื่องหลัก ทำให้เครื่องที่เป็น Workstationสามารถทำงานติดต่อกับเครื่องหลักได้โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับข้อแตกต่างของระบบเลย

ระบบดาวเทียม

ระบบดาวเทียม
ความแตกต่างของดาวเทียมสื่อสารที่ต่างจากดาวเทียมอื่นๆ คือมันสามารถทวนสัญญาณที่มี payload จำนวนของสัญญาณวิทยุที่รับ / ส่ง นั้นซึ่งเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่า ทรานสปอนเดอร์ ( Transponders ) ตัวทรานสปอนเดอร์นี้จะทำการทวนสัญญาณเพื่อให้คลื่นสัญญาณวิทยุที่รับมาจาก on-board ของดาวเทียม มาประมวลผลและส่งสัญญาณไปยังสถานีภาคพื้นได้ โดยทั่วไป ทรานสปอนเดอร์ถูกกำหนดจากความสามารถสูงสุดของแบนด์วิดท์ ( Bandwidth ) ไว้ที่ 36 , 54 หรือ 72 MHz สำหรับบน Ku-band และความถี่อื่นๆ นั้นได้แจกแจงขนาดของแบนด์วิดท์บนตัว ทรานสปอนเดอร์ในตาราง 1 โดยทรานสปอนเดอร์สามารถใช้ประโยชน์จากการถ่ายทอดสัญญาณที่มีประสิทธิภาพในการปล่อยพลังงานออกมาในรูปของคลื่นสัญญาณ ( 40 dBW ถึง 54 dBW หรือ 10,000 W ถึง 250,000 W ) และมันมีความสามารถในการประมวลผล on-board
สมัยก่อนทรานสปอนเดอร์ไม่เป็นอะไรที่ซับซ้อนมากนักและมันประกอบด้วยระบบรองจำนวนน้อย : ที่จานสายอากาศเครื่องรับมี LNA ในด้านรับ จากนั้นเปลี่ยนความถี่และส่งสัญญาณไปให้ HPA ซึ่งเป็นการทำงานพื้นฐานของทรานสปอนเดอร์ที่ต้องการเพียงแค่รับและแปลงคลื่นสัญญาณไฟฟ้าให้ผ่านไปที่สายอากาศด้าน Rx ในการขยายนั้นมันทำในส่วน LNA โดยเปลี่ยนความถี่ ( down convert ) และป้อนคลื่นสัญญาณไปยัง HPA หลังจากนั้นก็ถ่ายทอดสัญญาณผ่านไปที่สายอากาศด้าน Tx ซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานของทรานสปอนเดอร์นั้นคือ ความสามารถในการทวนสัญญาณ ( Repeater หรือ Bent-Pipe ) ของดาวเทียม ซึ่งแสดงให้เห็นในรูปที่ 2.4
แต่ดั้งเดิมการทวนสัญญาณในดาวเทียมมันซับซ้อนในการรับรู้ว่ามีหลายอย่างก่อให้เกิดผลกระทบที่สามารถนำไปใช้ในการรับสัญญาณ ( non-linearity , การล่าของสัญญาณ : delay , การบิดเบือนของสัญญาณ : distortion ) แต่ทุกครั้งมันเกี่ยวกับความถี่และกำลังส่ง แต่สัญญาณก็ไม่พร้อมที่จะยอมรับ ทรานสปอนเดอร์ไม่มีทางรับรู้สิ่งต่างๆ ที่แตกต่างในสัญญาณได้ bent-pipe ในทรานสปอนเดอร์เกือบจะมองผ่านได้ง่ายๆ ถึงการใช้ เมื่อมองย้อนกลับไปแล้ว โดยพื้นฐานไม่แตกต่างในการส่งข้อมูล ( information ) และก็ไม่แตกต่างในการลำดับสัญญาณ ดังนั้นมันจึงเป็นการเริ่มต้นการทวนคลื่นสัญญาณ ดาวเทียมในปัจจุบันมีแอพพลิเคชั่น ( Application ) ที่เพิ่มมากขึ้นแต่คงจะไม่เพียงพอสำหรับเครือข่ายดาวเทียมที่ใช้ดิจิตอลแพ็คเกจ ( digital packet )
ตารางที่ 1 ตัวอย่างพารามิเตอร์ดาวเทียมแบบ Fixed Satellite Service ( FSS )
Frequency band Satellite EIRP Satellite G/T Transponder Bandwidth
C band 36 ถึง 40 dBW -3 ถึง 2 dB/K 36 MHz
Ku band 45 ถึง 50 dBW 0 ถึง 5 dB/K 36 , 54 , 72 , 108 MHz
Ka band ( กรณี OBP ) 55 ถึง 60 dBW 4 ถึง 9 dB/K 36 , 54 , 108 MHz
V band > 50 dBW > 5 dB/K 36 , 54 , 108 MHz
การใช้งานดาวเทียมกับระบบโทรศัพท์ ( Satellite Telephony )
การนำระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมมาใช้งานกับระบบโทรศัพท์นั้นสามารถแบ่งได้เป็นสองส่วนได้แก่
1. นำไปใช้เชื่อมโยงระหว่างชุมสายโทรศัพท์ขนาดใหญ่เพื่อเป็น Trunk ขนาดใหญ่ สำหรับรองรับปริมาณการใช้โทรศัพท์ระหว่างชุมสายหรือเป็นระบบสำรองสำหรับระบบส่งสัญญาณภาคพื้นดินอื่น เช่น ระบบไมโครเวฟ และระบบไฟเบอร์ออฟติก เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีที่สามารถใช้ได้คือระบบ TDMA ( Time Division Multiple Access ) หรือระบบ SCPC ( Single Channel Per Carrier ) เป็นต้นที่สามารถรองรับการใช้งานได้เป็นจำนวนมาก เช่น ระบบที่มีความเร็ว 2 Mbps เป็นต้น
2. ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมได้นำระบบ SCPC DAMA ( Demand Assigned Multiple Access ) มาใช้งานกับระบบโทรศัพท์ ซึ่งเป็นการใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมเฉพาะเวลาที่มีการใช้โทรศัพท์ทำให้ประหยัดการใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมได้มาก เพื่อรองรับผู้ใช้โทรศัพท์เป็นจำนวนมาก ระบบนี้ได้ถูกนำไปใช้สำหรับการสื่อสารกับบริเวณพื้นที่ห่างไกล ( Rural Area ) ซึ่งระบบโทรศัพท์ธรรมดาไม่สามารถให้บริการได้ เช่น ในชนบท ตามหมู่เกาะต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมชนิด SCPC DAMA ยังสามารถนำมาสร้างระบบเครือข่ายโทรศัพท์เพื่อใช้งานภายในองค์กรที่มีสาขาอยู่ในที่ห่างไกล การทำงานของระบบโทรศัพท์สามารถทำได้โดยการเชื่อมโยงระบบตู้สาขา ( PBX ) เข้าด้วยกัน โดยผ่านอุปกรณ์ Voice Codec ทำการแปลงสัญญาณเสียงให้เป็นข้อมูลดิจิตอลเพื่อส่งข้อมูลผ่านระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมไปยังสถานีปลายทางต่อไป
การสื่อสารระบบโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมต้องใช้เวลาในการส่งสัญญาณขึ้นไปยังตัวดาวเทียมเป็นผลให้การใช้งานระบบโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมเกิดปัญหามีเสียงก้อง เนื่องมาจากการหน่วงเวลาของดาวเทียมสื่อสารในปัจจุบัน ดังนั้นในระบบโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมทั่วไปจึงต้องมีอุปกรณ์ป้องกันเสียงก้อง ( Echo Canceller ) เป็นส่วนประกอบสำคัญเสมอ
สำหรับการใช้งานโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมในปัจจุบันนั้นรองรับการใช้งาน VoIP ได้หลายโปรโตคอล เช่น H.323 , SIP และ MGCP โดยขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ปลายทาง ( User Terminal ) ที่ได้รวมโมเด็มสำหรับการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมและ VoIP Processing เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับโทรศัพท์พื้นฐานทั่วไปได้โดยตรงและสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียว ซึ่งสามารถต่อเข้ากับชุดอุปกรณ์ VoIP ที่มีอยู่ทั่วไปได้ เช่น IP Phone , IP PABX
ระบบสื่อสารดาวเทียมเคลื่อนที่ ( Mobile Satellite Systems : MSS )
MSS เป็นระบบสื่อสารดาวเทียมที่ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกลกันให้สามารถสื่อสารได้ ด้วยการใช้งานที่คล่องตัวทั้งยังสามารถเคลื่อนย้ายได้ จึงเป็นสถานีดาวเทียมภาคพื้นที่มีการนำไปประยุกต์การให้บริการติดต่อสื่อสาร เช่น การใช้งานโทรศัพท์บนเครื่องบินหรือบนพื้นดิน , การสื่อสารข้อมูล , การกำหนดตำแหน่งของพิกัด , การสื่อสารกับเรือเดินสมุทร , รถถ่ายสดผ่านดาวเทียม เป็นต้น
ระบบ MSS ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้งานความถี่ในช่วง L band การนำความถี่กลับมาใช้ใหม่ ( Frequency reuse ) ( ขออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการใช้ความถี่ซ้ำ เนื่องจากย่านความถี่ซึ่งใช้ในการสื่อสารดาวเทียมค่อนข้างมีจำกัด ดังนั้นเพื่อให้การสื่อสารดาวเทียมมีการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพจึงถูกออกแบบให้สามารถใช้งานความถี่เดียวเดียวกันและพร้อมกันได้ โดยการส่งสัญญาณที่มีความถี่เดียวกันในทิศทางหรือแกนที่ต่างกันจะทำให้การรบกวนมีน้อยมาก เช่น ดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศจะใช้ Linear Polarization ซึ่งมีการส่งสัญญาณให้วิ่งไปในแนวตั้ง ( Vertical Polarization ) และแนวนอน ( Horizontal Polarization ) พร้อมๆ กัน ส่วนดาวเทียมระหว่างประเทศ เช่น INTELSAT จะใช้วิธีการส่งสัญญาณเป็นลักษณะ ( Circular Polarization ) โดยมีทิศทางการส่งสัญญาณหมุนเป็นเกลียวเวียนซ้ายตามเข็มนาฬิกา ( LHCP ) หรือหมุนขวาทวนเข็มนาฬิกา ( RHCP ) จะทำให้สัญญาณที่ใช้ความถี่เดียวกันไม่เกิดการรบกวนซึ่งกันและกัน) สำหรับ L band ที่มีแบนด์วิดท์แคบจำเป็นต้องใช้จานสายอากาศของดาวเทียมที่มีจำนวนบีมมากๆ ( Multibeam Satellite Antenna ) ระบบ MSS ใช้ความถี่ L band ที่มีแบนด์วิดท์ 14 MHz การติดต่อสื่อสารขาขึ้น ( Uplink ) จะใช้ความถี่ช่วง 1646.5 – 1660.5 MHz และการติดต่อสื่อสารขาลง ( Downlink ) จะใช้ความถี่ช่วง 1545 – 1559 MHz ( 1.6 / 1.5 GHz ) ทำให้สามารถนำความถี่ที่ใช้ไปแล้วกลับมาใช้ใหม่ได้โดยการใช้บีม ( Beam ) หลายๆ บีม แต่ละบีมจะห่างกันมากกว่าช่วงกว้างของบีม ( Beamwidth ) เพื่อที่จะได้ค่า C/I ( Carrier-to-Interference Ratio ) ที่เหมาะสม โดยตารางที่ 2 จะแสดงให้เห็นถึงการแบ่งความถี่ของระบบดาวเทียม
เครือข่าย MSS ทำงานในย่านความถี่ L band ( 1.6 / 1.5 GHz ) และ Ku band ( 14 / 12 GHz ) ระบบ MSS ส่วนมากทำงานในรูปแบบ Star ซึ่งมีสถานีกลาง ( Hub Station ) ซึ่งการติดต่อสื่อสารทุกครั้งจะต้องผ่านสถานีกลาง ดังนั้น องค์ประกอบของเครือข่าย MSS ซึ่งมีเทอร์มินัลเคลื่อนที่ ( Mobile Terminals ) , สถานีกลาง ( Hub Station ) ซึ่งอาจจะเป็น Base Station หรือ Gateway และศูนย์ควบคุมเครือข่าย ( Network Control Center : NCC ) สถานีกลางและศูนย์ควบคุมเครือข่ายจะทำงานในย่านความถี่ Ku band โดยใช้จานสายที่มีอัตราขยายประมาณ 15 – 22 dB และเทอร์มินัลเคลื่อนที่ทำงานในย่านความถี่ L band นอกจากนี้บีมที่กว้างของจานสายอากาศนี้จะทำให้การสื่อสารดาวเทียมในระบบที่มีดาวเทียมหลายๆ ดวงเป็นไปได้ง่ายขึ้น โดยที่ดาวเทียมหลายๆ ดวงนี้จะใช้เทคนิคที่ดาวเทียมแต่ละดวงจะใช้วงโคจรร่วมกันซึ่งมีความจำเป็นมากในระบบที่มีความต้องการใช้ ( traffic ) ที่สูง
สัญญาณที่ได้รับจากสถานีเคลื่อนที่ ( Mobile Terminal ) จะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ Direct Component คือ สัญญาณที่ได้รับโดยตรงจากดาวเทียมถึงสถานีเคลื่อนที่ และ Ground Reflected Component โดยทั่วไปแล้วผลของค่านี้จะสามารถละเลยได้